สมองขาดออกซิเจน สมองพร่องออกซิเจน
(Cerebral hypoxia)
บทนำ
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย และเป็นอวัยวะที่ไวต่อการเกิดภาวะผิดปกติ หรือโรคต่างๆได้ง่ายที่สุด เช่น “สมองขาดออกซิเจน หรือสมองพร่องออกซิเจน (Cerebral hypo xia)” เพียง 4 นาที ก็ทำให้สมองเสียหน้าที่ได้ เมื่อสมองขาดหรือพร่องออกซิเจน จะส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไร และสาเหตุของสมองขาดออกซิเจนมีอะไรบ้าง ต้องติดตามบทความนี้
ภาวะสมองขาดออกซิเจน คืออะไร?
สมองขาดออกซิเจน หรือสมองพร่องออกซิเจน คือ ภาวะที่สมองได้รับออกซิเจนจากเลือดมาสู่สมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองเกิดความผิดปกติ เนื่องจากเซลล์สมองขาดพลังงาน และถ้ามีการขาดพลังงานเป็นระยะเวลานาน (ประมาณ 4 นาที) ก็ทำให้เซลล์สมองตาย ส่งผลให้เกิดความพิการทางสมองได้
ภาวะสมองขาดออกซิเจนมีสาเหตุจากอะไร?
สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน คือ
*****อนึ่ง เมื่อมีสาเหตุต่างๆดังกล่าวเกิดขึ้น ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ที่ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที่
ภาวะสมองขาดออกซิเจนมีอาการอย่างไร?
สมองขาดออกซิเจน ถ้าเกิดการขาดทั่วทั้งสมองเป็นระยะเวลานานเพียงประมาณ 4 นาที ก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์สมอง เมื่อเซลล์สมองตายก็จะทำให้สมองสูญเสียหน้าที่ปกติไป
ส่วนต่างๆของสมองที่ไวต่อการขาดออกซิเจนนั้นแตกต่างกัน สมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุด (เกิดอาการผิดปกติเร็ว และได้รับผลกระทบมากที่สุด) คือ สมองใหญ่ ส่วนที่เรียกว่า สมองกลีบขมับ (Temporal lobe) โดยเฉพาะส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ส่ง ผลให้มีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ การบริหารจัดการ
สมองส่วนอื่นๆที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเช่นกัน คือ
ทั้งนี้ อาการผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ อาการชักเกร็งกระตุก, กล้ามเนื้อเกร็ง, การทรงตัวไม่ดี, แขนขาอ่อนแรง, พฤติกรรมผิดปกติ, การควบคุมการขับถ่ายเสียไป, หายใจเองไม่ ได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ, และถ้าการขาดออกซิเจนรุนแรงยาวนาน ก็จะเกิดภาวะสมองตาย และเสียชีวิตได้
ภาวะสมองขาดออกซิเจนวินิจฉัยได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดออกซิเจนได้จาก ประวัติอาการ ประวัติสาเหตุ การตรวจร่างกาย ร่วมกับ การตรวจปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอสมอง ซึ่งจะพบ ว่า เนื้อสมองมีลักษณะของการขาดเลือดทั่วทั้งสมอง
รักษาภาวะสมองขาดออกซิเจนอย่างไร?
การรักษาภาวะสมองขาดออกซิเจนนี้ เป็นภาวะเร่งด่วนที่สุด ต้องรีบให้การรักษาอย่างรวดเร็ว การรักษาที่สำคัญที่สุด คือ ต้องรีบแก้ไขสาเหตุ และให้มีการไหลเวียนของเลือดที่ดีให้เร็วที่สุด ให้ออกซิเจนผ่านทางท่อช่วยหายใจ และเครื่องช่วยหายใจในระยะแรก ให้ยาเพิ่มความดันโลหิตถ้ามีความดันฯต่ำ ต้องกู้ชีพให้สัญญาณชีพปกติให้เร็วที่สุด เมื่อสัญญาณชีพต่าง ๆปกติแล้ว ก็จะเป็นการค่อยๆหยุดการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Weaning respirator) เพื่อการป้อง กันภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (เช่น ปอดติดเชื้อ/ปอดอักเสบ) และ การฟื้นฟูสภาพร่างกายและสมองด้วยกายภาพบำบัด และกิจกรรมต่างๆตามแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด แนะนำ
การรักษาภาวะสมองขาดออกซิเจนเป็นการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งการรักษานานหรือ ไม่ ขึ้นกับสาเหตุและอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด ร่วมกับการฟื้นตัวของผู้ป่วยว่าดีแค่ไหน
ทั้งนี้ แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านต่อได้ เมื่ออาการผู้ป่วยดีขึ้น สามารถหายใจเองได้ และที่สำคัญ คือ ญาติมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย ทั้งทางด้านความสามารถในการดูแลผู้ป่วย และด้านเศรษฐานะ เพราะจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากพอสมควร เป็นหลักหมื่นขึ้นไปต่อเดือน
ญาติควรเตรียมอย่างไรก่อนผู้ป่วยกลับบ้าน?
การเตรียมตัวเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะต้องดูแลผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย เหมือนกับการดูแลลูกเล็กๆ (แต่เป็นผู้ใหญ่) ดังนั้นจะมีภาระที่เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ยังมีภาระด้านการแพทย์ เช่น การดูดเสมหะ การทำแผล การพลิกตัว การทำกายภาพบำบัด การกระ ตุ้นสมอง การฝึกพูด (ตามแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัดแนะนำ) และอื่นๆที่เกี่ยวกับสุข ภาพ โดยทั่วไปแล้วต้องมีคนดูแลอย่างน้อย 2 คน
ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะสมองขาดออกซิเจนที่พบบ่อยคืออะไร?
ภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ที่พบบ่อยจากภาวะสมองขาดเลือด ได้แก่
ภาวะสมองขาดออกซิเจนมีการพยากรณ์โรคอย่างไร?
การพยากรณ์โรค/ผลการรักษาภาวะสมองขาดออกซิเจนขึ้นกับ สาเหตุว่าแก้ไขได้อย่างรวดเร็วเพียงใด, ระยะเวลาที่สมองเกิดการขาดออกซิเจนนานเพียงใด, อายุผู้ป่วย (อายุน้อยจะดีกว่าอายุมาก), และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น (ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ภาวะแทรกซ้อน) ซึ่งถ้าไม่มี ผู้ป่วยก็จะฟื้นตัวได้เร็ว
การประเมินว่าผู้ป่วยจะหายดี/ฟื้นตัวได้มากน้อยแค่ไหน มักเป็นคำถามที่แพทย์ถูกถามบ่อยที่สุด การประเมินคือ ต้องดูการพัฒนาการของผู้ป่วยแต่ละรายว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านไปแต่ละเดือนนั้น ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นอย่างไร แค่ไหน
วิธีง่ายๆที่จะพยากรณ์/ประเมินได้ คือ ดูที่ระยะเวลาที่ 3, 6, 12 เดือน ซึ่งการฟื้นตัวจะได้ประมาณ 50%, 75% และ 100% ของการฟื้นตัวที่ดีที่สุด (ฟื้นตัว 100%)
ตัวอย่าง เช่น ถ้าระยะเวลาที่ 3 เดือน กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง มีการเคลื่อนไหวได้มากขึ้นประมาณเท่ากับ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติ ดังนั้นที่ 1 ปี อาการอ่อนแรงก็น่าจะหายดีเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของผู้ป่วยแต่ละราย อาจแตกต่างกันบ้าง ส่วนหลังจาก 1 ปีไปแล้ว การฟื้นตัวก็ยังมีโอกาส แต่การฟื้นตัวนั้นจะช้ากว่าในช่วงปีแรกมาก
อนึ่ง สาเหตุเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองขาดออกซิเจน มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อที่ปอด/ปอดอักเสบ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และ/หรือการติดเชื้อจากแผลกดทับ
ญาติควรดูแลผู้ป่วยอย่างไร? เมื่อไรควรพบแพทย์ก่อนนัด?
ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยภาวะสมองขาดออกซิเจน มักช่วยเหลือตนเองไม่ได้ทั้งหมด ญาติมีความจำเป็นอย่างมากในการดูแลกิจวัตรประจำวัน และต้องพยายามป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ แทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ ข้อต่างๆยึดติด แผลกดทับ
แต่ถ้าผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีมาก ช่วยเหลือตนเองได้ ญาติก็ยังคงต้องมีส่วนช่วยผู้ป่วย ในการกระตุ้น ฝึกสมอง กายภาพบำบัด(ตามแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด แนะนำ) เพื่อให้ผู้ ป่วยกลับมาเป็นปกติให้ได้เร็ว และได้มากที่สุด
และควรพาผู้ป่วยพบแพทย์ก่อนนัด เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเพิ่มขึ้น เช่น อาการเกร็ง อาการชัก ซึมลง ไข้ขึ้น เสมหะมากขึ้น
การป้องกันภาวะสมองขาดออกซิเจนทำได้หรือไม่?
การป้องกันภาวะสมองขาดออกซิเจนคือ การหลีกเลี่ยงสาเหตุดังกล่าวแล้วในหัวข้อ สา เหตุ โดยเฉพาะการเกิดอุบัติเหตุ และการรักษาโรคประจำตัวให้ดี ไม่ให้มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ ติดเชื้อรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ (เช่น จากการใช้ยาคุมเบาหวานเกินขนาด และ/หรือการมีโรคอื่นๆแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน) และถ้ามีปัญหาการหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ผู้นั้นต้องได้รับการกู้ชีพอย่างถูกวิธี และรวดเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการตายของเซลล์สมองจากภาวะขาดออกซิเจน/ขาดเลือด
สรุป
สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอวัยวะหนึ่งของมนุษย์เรา ดังนั้นเราต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันไม่ให้สมองได้รับอุบัติเหตุ หรือเกิดปัญหาใดๆ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องรีบพบแพทย์ /ไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อให้การรักษาที่รวดเร็วทันเวลา การฟื้นตัวของสมองก็จะมีโอกาสสูงขึ้น
ที่มา: ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ เทียมเก่า โรงพยาบาลศรีนครินทร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น