ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยในโรคลมชัก (Common misunderstood in epilepsy)
บทนำ
โรคลมชัก เป็นโรคที่พบบ่อย และมีความใจผิดในเรื่องของโรคมากที่สุดโรคหนึ่ง อาจเป็นเพราะขาดการสร้างความรู้ที่ถูกต้องต่อ ผู้ป่วย ญาติ ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป และต่อสัง คม เราทุกคนต้องร่วมแก้ไขความเข้าใจผิด และสร้างทัศนคติที่ดีต่อโรคลมชัก และต่อผู้ป่วยโรคลมชัก เพื่อช่วยกันเพิ่มประสิทธิภาพทางการดูแลรักษาโรค และต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
โรคลมชักคือโรคลมบ้าหมู
โรคลมชัก คือ โรคที่ผู้ป่วยมีอาการชักซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป โดยไม่ต้องมีปัจจัยกระตุ้น/ตัวกระตุ้น ซึ่งรูปแบบการชักนั้น มีหลายรูปแบบ เช่น นิ่งนิ่ง, เหม่อลอย, กระตุกเฉพาะแขน ขา, ล้มลงทั้งยืน, เดินไปมา, รู้สึกตัวดี, ไม่รู้ตัว/หมดสติและแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว หมดสติ (ที่ทุกคนเข้าใจและรู้จักดี คือ ลมบ้าหมู) ดังนั้น โรคลมชักก็เปรียบเสมือนผลไม้ที่มีหลายชนิด เช่น ฝรั่ง มังคุด ละมุด ลำไย ซึ่งก็คือ ลมชัก แต่ละชนิดนั้นเอง
ดังนั้น ทางการแพทย์ ลมบ้าหมู จึงเป็นเพียงการชักชนิดหนึ่ง/รูปแบบหนึ่งของโรคลม ชักเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงโรคลมชักทั้งหมดทุกรูปแบบ ทั้งนี้อ่านเพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องโรคลมชักได้ในเว็บ haamor.com ในบทความเรื่อง โรคลมชัก
โรคลมชักรักษาไม่หาย
โรคลมชัก เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีผลการรักษาที่ดีโรคหนึ่ง คือ ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยตอบสนองดีต่อการรักษา ประมาณ 65% ของผู้ป่วยสามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งผู้ ป่วยบางรายอาจต้องได้ยากันชักหลายชนิดเพื่อควบคุมอาการชัก มีเพียงประมาณ 15% ที่รัก ษายาก ไม่ตอบสนองต่อยากันชักหลายชนิด และผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ผู้ป่วยโรคลมชักทานยาเฉพาะช่วงที่มีอาการชักเท่านั้น
การทานยากันชัก ต้องทานสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวันนานประมาณ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ชักครั้งสุดท้าย แล้วแพทย์จึงค่อยๆปรับลดยากันชักลงจนหยุดยาในที่สุด
ผู้ป่วยโรคลมชักที่ต้องทานยารักษาโรคอื่นๆ ต้องหยุดยากันชัก เพราะยาจะมีปฏิกิริยาต่อกัน
ยากันชัก มีโอกาสทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ (ปฏิกิริยาระหว่างยา) ได้บ่อย แต่ห้ามหยุดยากันชัก เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสชักแบบรุนแรงได้ ทางปฏิบัติที่ถูกต้องคือ ต้องแจ้งให้แพทย์โรคอื่นๆทราบว่า ทานยากันชักชนิดใดอยู่ เพื่อที่แพทย์จะได้พิจารณาปรับเปลี่ยนชนิดของยาที่ใช้รักษาโรคนั้นๆ หรือต้องปรับขนาดยาให้เหมาะสม รวมทั้งเมื่อพบแพทย์รักษาโรคลม ชักต้องแจ้งแพทย์โรคลมชักด้วยว่า ทานยาอื่นๆอะไรอีกบ้าง
ผู้ป่วยต้องทานยากันชักเพิ่มทุกครั้งถ้ามีอาการชัก
ยากันชัก เป็นยาที่ต้องทานประจำเพื่อควบคุมอาการชัก แต่ห้ามทานเพิ่มหลังจากมีอา การชัก เพราะนอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ยังทำให้มีระดับยาเป็นพิษในเลือดสูงขึ้น ส่งผลเสียต่อร่างกาย ยกเว้นในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชักบ่อยๆ เป็นประจำ แพทย์จะจัดยาให้ทานเพิ่ม ขึ้น เฉพาะวันที่มีอาการชักเพิ่มเท่านั้น ส่วนยากันชักทานประจำก็ทานเท่าเดิม ถ้ามีอาการชักบ่อยขึ้น ก็ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด แพทย์จะประเมินว่าต้องปรับเปลี่ยนการรักษาหรือไม่ เพราะการชักบ่อยๆขณะได้รับรักษาอยู่นั้น อาจมีปัจจัยอื่นๆกระตุ้นให้เกิดอาการชัก แพทย์จึงต้องตรวจประเมินหาปัจจัยเหล่านั้น
โรคลมชักถ่ายทอดทางพันธุกรรมและเป็นโรคที่ติดต่อได้ด้วย
โรคลมชัก ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่สามารถติดต่อโดยการสัมผัส การหายใจ ไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ปัสสาวะ ฯลฯ หรือ ทางเลือดใดๆทั้งสิ้น
ส่วนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสู่ลูกนั้น มีโอกาสต่ำ คือ ประมาณ 1% ถ้าผู้ป่วยนั้นมีสา เหตุลมชักจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
การช่วยผู้ป่วยโรคลมชักแบบลมบ้าหมู ต้องงัดปากผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ชักแบบลมบ้าหมู (ชักทั้งตัวและหมดสติขณะชัก) นั้นคือ ป้องกันไม่ ให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ตกเตียง กระแทกของแข็งข้างตัว สำลักอาหาร ดังนั้น การดูแลช่วยเหลือ คือ การจับผู้ป่วยนอนลงกับพื้นให้ห่างจากของแข็งที่ผู้ป่วยอาจชักแล้วไปกระแทกได้ ทั้งนี้ ใน ขณะชัก การกัดลิ้นพบน้อยมาก และถ้าเกิดขึ้น ก็ไม่มีอันตราย แต่ถ้างัดปากใส่วัสดุงัดช่องปาก ( เช่น ด้ามช้อน) อาจเกิดผลเสียมากกว่า (เช่น ฟันผู้ป่วยหักหลุดเข้าหลอดลม หรือ ผู้ป่วยกัดนิ้วคนงัดปาก กรณีใช้นิ้วช่วยงัดปาก) จึงไม่ควรงัดปากผู้ป่วย
ขณะชักต้องจับยึดผู้ป่วยไว้
การช่วยเหลือผู้ป่วยขณะชักแบบลมบ้าหมูนั้น ห้ามจับยึดผู้ป่วย หรือกดรัดไม่ให้ผู้ป่วยมีการชัก เพราะจะก่อให้เกิดการเคลื่อนหลุดของข้อต่อต่างๆ เช่น ไหล่ สะโพก
กรณีชักแบบพฤติกรรมผิดปกติเดินไปมา ผู้ช่วยเหลือทำหน้าที่เพียงประคองผู้ป่วย ไม่ให้เดินไปในที่ที่อาจเกิดอุบัติเหตุ เช่น ใกล้แหล่งน้ำ ถนน หรือที่สูง
โรคลมชักเป็นเฉพาะในเด็กเท่านั้น
โรคลมชัก เป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย พบบ่อยในเด็ก และผู้สูงอายุ คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจผิดว่า ถ้าตอนเด็กไม่เคยมีอาการชัก ตอนเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ควรจะชัก ที่จริงแล้วไม่เกี่ยวข้องกัน คือ การชักในแต่ละวัยก็มีสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น
ผู้ป่วยโรคลมชักไม่สามารถแต่งงาน หรือมีเพศสัมพันธ์ หรือมีลูกได้
ผู้ป่วยโรคลมชักทั้งชายและหญิง สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เหมือนคนอื่นๆ และสามารถแต่งงานและตั้งครรภ์ได้ แต่ต้องมีการวางแผนครอบครัว เพราะยากันชักที่ทานอาจส่งผลต่อทา รกในครรภ์ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคลมชัก หรือผู้หญิงที่ทานยากันชักเพื่อรักษาโรคอื่นๆ (เช่น รักษาอาการปวดจากโรคทางระบบประสาท) นั้น ถ้าแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ต้องมีการวางแผนครอบครัว และถ้าต้องการมีบุตรก็ต้องปรึก ษาแพทย์ก่อน เพื่อวางแผนในการรักษาโรคกันชักและทารกในครรภ์ให้เหมาะสม
ทั้งนี้ ถ้าผู้หญิงที่ใช้ยากันชักต้องการมีบุตร ดีที่สุดโรคลมชักควรต้องควบคุมได้ และหยุดยากันชักได้ แต่ถ้ารอไม่ได้ต้องการมีบุตรขณะทานยากันชัก ก็ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อปรับ เปลี่ยนชนิดและขนาดยากันชัก ที่มีผลเสียต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ ให้มีโอ กาสเกิดความผิดปกติน้อยที่สุด การฝากครรภ์ก็จำเป็นต้องพบแพทย์อย่างใกล้ชิด และต้องมีการประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์ร่วมด้วยเป็นระยะๆ ส่วนการคลอดนั้น สามารถคลอดได้ตามปกติ ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า ต้องผ่าคลอด ยกเว้นมีอาการชักขณะคลอด
ผู้ป่วยโรคลมชักมีสติปัญญาด้อยกว่าเกณฑ์ ด้อยกว่าผู้อื่นๆ
ผู้ป่วยโรคลมชัก ที่ชักไม่บ่อยและไม่ได้มีความพิการแต่กำเนิด ส่วนใหญ่มีสติปัญญาปกติ ยกเว้นกรณีมีความพิการทางสมองแต่กำเนิด หรือชักบ่อยมากๆ ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้เป็นระยะเวลานาน ก็ส่งผลต่อสติปัญญา
การชักโดยทั่วไป ส่งผลเสียต่อสมองน้อยมากๆ ปัจจุบันผู้เขียนมีผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพหลากหลายมีทั้ง แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกร และนักกฎหมาย
ผู้ป่วยโรคลมชัก ยิ่งชักยิ่งทำให้สมองเสื่อม
การชัก มีผลทำให้สมองเสื่อมน้อยมาก ความจำที่เสียไปเป็นเพียงระยะสั้นๆ หลังการชักเท่านั้น ยกเว้นผู้ป่วยที่มีการชักแบบต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 24 ชั่วโมง แบบไม่หยุดเลย (Status epilepticus) ก็จะส่งผลต่อสมองเสื่อมได้
ผู้ป่วยโรคลมชักมีความผิดปกติด้านจิตใจ มีปัญหาด้านจิตวิทยา เป็นคนมีอันตราย ควบ คุมอารมณ์ตนเองไม่ได้
ผู้ป่วยโรคลมชักบางส่วนอาจมีความผิดปกติด้านจิตใจ เช่น กังวล ซึมเศร้า หวาดระแวงได้ เนื่องจากโรคไม่หาย หรือจากมีรอยโรคในสมอง อย่างไรก็ตามมีเพียงผู้ป่วยส่วนน้อยมากๆ ที่มีปัญหาควบคุมอารมณ์หรือทำอันตรายผู้อื่น
ผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรทำงาน เพราะอาจเกิดอันตรายจากการชักได้
ผู้ป่วยโรคลมชัก อาจเกิดอุบัติเหตุจากการชักได้ เนื่องจากขณะชักจะหมดสติ หรือไม่สามารถควบคุมสติได้ ดังนั้น จึงแนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรกล ทำงานในที่สูง หรือใกล้แหล่งน้ำ ไม่ควรขับรถ ส่วนอาชีพอื่นๆก็สามารถทำงานได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้ผู้ร่วมงานให้ทราบว่า เราเป็นโรคลมชัก ถ้าชักจะดูแลเราอย่างไร และถ้ามีอาการเตือนก่อนการชัก ก็รีบหยุดทำงาน แจ้งเพื่อนร่วมงาน และหาที่นั่งหรือนอนราบทันที
ผู้ป่วยโรคลมชักทำงานหนักไม่ได้ ทำงานที่รับผิดชอบสูงไม่ได้
ผู้ป่วยโรคลมชัก สามารถทำงานได้ ยกเว้น งานที่ทำกับเครื่องจักรกล ใกล้แหล่งน้ำ หรือในที่สูงที่อาจตกจากที่สูงได้ง่าย แต่ต้องระมัดระวังในงานที่ต้องอดนอน นอนดึก เพราะอาจเป็นปัจจัยกระตุ้น/ตัวกระตุ้นทำให้ชักได้ อาชีพที่ห้าม คือ ขับรถ ขับเครื่องบิน ขับเรือ
ผู้ป่วยโรคลมชักเดินทางไกลไม่ได้
ผู้ป่วยโรคลมชัก สามารถเดินทางไกลได้ตามปกติ แต่ให้ระวังการอดนอน และต้องทานยากันชักให้ครบ บางครั้งเดินทางไปต่างประเทศซึ่งมีเวลาแตกต่างกัน ทำให้ได้ยากันชักไม่ครบ
สรุป
ความเข้าใจผิดเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลต่อการรักษาโรคได้ โดยเฉพาะโรคลมชัก ดังนั้น เราทุกคนต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อโรคลมชัก และต่อผู้ป่วยโรคลมชัก เพื่อผลการรักษาที่ดี และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย
ที่มา: ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ เทียมเก่า โรงพยาบาลศรีนครินทร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น